ทำด้วยมือ






--------------------------------------------------------------------------------------------------


ชื่อผู้แต่ง  ธนวัฒน์  ศรีสุวรรณ.ชื่อ  ทำด้วยมือ.สถานที่พิมพ์   โรงพิมพ์แอ๊ปป้า  พริ้นติ้ง กรุ๊ป  จำกัด. 150หน้า              


--------------------------------------------------------------------------------------------------


"เด็กทุกคนต้องได้รับการดูแล
ไม่ใช่เราอยาก เห็นอะไร แต่ขั้นต่ำมันควรจะต้องเป็นอย่างไร
เราต้องเริ่มจากการที่เด็กมีอาหาร มีปัจจัยสี่ เขาต้องได้ จะทำอย่างไรให้เขาได้
ถ้าเขาได้แล้ว เขาก็ต้องมีคนสนับสนุนต่อไป ใจควรต้องดูแลที่จิตใจ
ถ้าเด็กของเราได้รับครบถ้วน อนาคตเด็กไม่มีคำว่าผิดพลาด
จิตใจคือสร้างให้เขาเป็นมนุษย์
สติปัญญาอยู่ในเรื่องของจิตใจ....."



     นิยามของคำว่า "กลไก" อาจกล่าวได้ว่า "สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลให้เป็นผู้ดำเนินงาน....." ดังนั้น "กลไกการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน" กล่าวได้คือ "ระบบการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนที่สามารถดำเนินการอยู่ได้ โดยการจัดสรรทรัพยากรต่างๆภายในชุมชนของตน และมีกลุ่มคนที่แน่ชัดในการดำเนินงาน"
     

     ด้วยความตั้งใจของทีมงานแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน(เด็กพลัส) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิด "ต้นทุนชีวิต...แนวคิดเชิงบวก" จึงมุ่งหวังที่จะสร้างพื้นที่นำร่องในการทำงานด้านเด็กและเยาวชนที่มีความยั่งยืน เกิดเป็นกลไกที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน ด้วยการจัดสรรทรัพยากรด้านต่างๆ และเกิดคณะทำงานที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นต่อไปได้ด้วยตนเอง


     จึงก่อให้เกิดวงการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในแวดวงต่างๆ ที่เข้ามาร่วมกันวิเคราะห์ถึงการทำงานที่ผ่านมา และคิดค้นแนวทางการเสริมสร้างงานด้านเด็กและเยาวชนในชุมชน เพื่อให้ได้มาถึงกระบวนการการทำงานที่จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดโครงสร้างที่แข็งแรงจากระดับล่างสู่ระดับบน


     กลไกเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีคนทำ คณะทำงานด้านเด็กและเยาวชนในชุมชน จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องเริ่มต้นเป็นอันดับแรกในการสร้างกลไกฯ หากแต่กลไกที่จะดำเนินงานด้วยการรับฟังเสียงและเยาวชน เพื่อใช้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนานั้น จะเกิดประโยชน์อย่างมากถ้ามีสมาชิกในคณะทำงานเป็นตัวแทนจากเด็กและเยาวชนในจำนวนที่มากกว่าผู้ใหญ่


     ดังนั้น คณะทำงานในพื้นที่นำร่องดังกล่าว จึงมีข้อตกลงกันว่า จะต้องมีจำนวนสมาชิกที่เป็นเด็กและเยาวชนมากกว่าผู้ใหญ่เสมอ และเพื่อความยั่งยืนของกลไกดังกล่าว จะต้องมีผู้ใหญ่อย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความสามารถในการเชื่อมงานกับโครงสร้างของท้องถิ่น และจะต้องมีเด็กและเยาวชนอย่างน้อยสองคนที่สามารถเชื่อมต่อกับสถาเด็กและเยาวชนในชุมชนได้ โดยสมาชิกของคณะทำงานทั้งหมดจะต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน เพื่อให้ท้ายที่สุดนั้นกลไกฯ ดังกล่าวจะเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและเต็มใจของสมาชิกในชุมชน ที่จะลงมือทำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาต่อยอด จนเป็นผลสำเร็จภายในชุมชนด้วยตัวของชุมชนเอง


     "การทำกิจกรรม.....ไม่ใช่เพื่อกิจกรรม"
     
     การสร้างกลไกการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนดังกล่าว จะสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ไม่ใช่เพื่อการจัดกิจกรรมให้เกิดกิจกรรม แต่จะต้องคำนึงถึงศักยภาพที่เกิดขึ้นในเด็กและเยาวชน โดยอาศัยการสำรวจ"ต้นทุนชีวิต" จากเครื่องมือการสำรวจต้นทุนชีวิต ทั้ง 48 ตัวชี้วัด ของทางแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน เพื่อเสาะหาถึงปริมาณที่มากน้อยในพลังด้านต่างๆของเด็กและเยาวชนในชุมชนและพัฒนาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เกิดความสอดคล้องกับผลสำรวจดังกล่าว พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน เพื่อหวังจะเพิ่มปริมาณของพลังที่อ่อนแอให้มีปริมาณที่มากขึ้น และเสริมสร้างพลังที่มีอยู่แต่เดิมให้เข้มแข็งต่อไป และในขณะเดียวกันยังส่งเสริมให้เกิดกระบวนการในการสนับสนุนกลไกเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชน ทั้ง 5 ด้าน 


   โดยจะเน้นให้เกิดกระบวนการสร้างเสริมใน 3 กระบวนการ คือ กระบวนการพัฒนาพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาจองเด็กในชุมชน กระบวนการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ และกระบวนการจัดการทรัพยากรฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลและสนับสนุนภายในชุมชน ผ่านการพัฒนาคณทำงานที่เป็นผู้ใหญ่ โดยอาศัยกระบวนการด้านการอบรมและกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เชิงทฤษฎีและปฎิบัติเพื่อให้ผู้ใหญ่ในชุมชนได้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชนมากขึึ้น ทั้งในด้านของจิตวิทยา การพัฒนาต่อยอดศักยภาพในเด็กและเยาวชนของตนเอง อีกทั้งยังสนับสนุนให้จัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อเด็กและเยาวชนด้วยตัวของชุมชนเอง


     ส่วน 2 กระบวนการสุดท้าย คือ กระบวนการเฝ้าระวังและกระบวนการส่งต่อ จะดำเนินการร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างถูกจุดประสงค์และเกิดการพัฒนาศักยภาพอย่างมีประสิทธิผลตรงกลุ่มเป้าหมาย


     ท้ายที่สุด แผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน ยังมุ่งหวังที่จะผลักดันเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่ได้รับการรองรับจากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีนโยบายจัดตั้งผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลเด็กและเยาวชน ในด้านของการสร้างเสริมศักยภาพ เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องและสอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของเด็กและเยาวชนในชุมชนเถพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางโครงสร้างจากรากลึกของประเทศชาติ ขึ้นสู่ก้านใบในอนาคต ภายใต้แนววคิด "ต้นทุนชีวิต.....แนวคิดเชิงบวก" ของชุมชน



       สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง 9 ข้อพ่อสอนไว้ "นิสัยแห่งความดี" ด้านต่างๆ ดังนี้

1. หนังสือเป็นออมสิน การอ่านหนังสือก็เป็นการสะสมความรู้ จึงมีการพัฒนา"ห้องสมุดมีชีวิตสัญจร" เพื่อให้เด็กๆทุกคนได้อ่านและทำกิจกรรม เวลาที่เด็กๆและชาวบ้านเห็นห้องสมุดมีชีวิตสัญจรก็จะมุ่งเข้าไปหาจนกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ในทันที

2. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ เหมือนกับเด็กหญิงคนหนึ่งที่ถูกกล่าวถึง จากแต่ก่อนเธอชอบด่าว่าคนอื่นจนแรกๆเพื่อนๆไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม แต่เมื่อได้รับโอกาสจากเพื่อนก็กลับกลายเป็นเด็กที่รู้จักการให้ เลิกนิสัยพูดจาว่ากล่าวคนอื่น

3. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ดังที่เด็กคนหนึ่งคอยแบ่งปันขนมแก่น้องๆเมื่อถามว่า"ทำไมไม่เก็บขนมไว้กินเองล่ะ เดี๋ยวจะไม่ได้กินนะ"เด็กหญิงกลับตอบว่า"ไม่เป็นไรหรอกป้า เอาให้น้องๆกินก่อน ของหนูไว้ทีหลัง"แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิงเป็นคนเสียสละและรู้จักการให้

4. ความพอดี รู้จักใช้สิ่งรอบตัวให้เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ห้องสมุดมีชีวิตสัญจร ดัดแปลงมาจากรถเข็นขายของที่ใช้กันทั่วไป เอามาทาสีตกแต่งให้กลายเป็นชั้นวางหนังสือ ชั้นล่างใช่เก็บอุปกรณ์การเรียนรู้อื่นๆ

5. การเอาชนะใจตน ด้วยความตั้งใจของทีมงานสุขภาวะเด็กและเยาวชนที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิด"ต้นทุนชีวิต...แนวคิดเชิงบวก"มุ่งหวังที่จะสร้างพื้นที่นำร่องในการทำงานด้านเด็กและเยาวชนที่มีความยั่งยืน เกิดเป็นกลไกการพัฒนาและคณะทำงานที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นได้สำเร็จจากการพยายามอย่างสุดความสามารถและการร่วมด้วยช่วยกัน

6. ความเพียร พยายามสร้างเสริมศักยภาพให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับความต้องการที่แท้จริงของเด็กและเยาวชน โดยฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จ

7. ความรู้ตน รู้จักคิดรู้จักทำ รู้ในสิ่งที่ตัวเองทำได้และทำหน้าที่นั้นอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ของตนเองและเยาวชนคนอื่นๆ

8. พูพดจริงทำจริง การพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ไม่ใช่เพียงคำพูดลอยๆแต่ลงมือปฏิบัตจริง ทำจริงจนประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่หวังไว้

9. ซื่อสัตย์ ตั้งตนอยู่บนพื้นฐานของความดี ไม่คิดทุจริตและหาผลประโยชน์ใส่ตัว สนับสนุนการแบ่งปันประโยชน์และทำเพื่อส่วนรวม เพื่อการพัฒนานิสัยเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิถาพและยั่งยืน



-----------------------------------------------------------------------




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น